ไปที่หน้าเวบนานาไบโอ


โครงสร้างของหัวใจ

          

กิจกรรม

จุดประสงค์

1. ศึกษาและสรุปโครงสร้างหัวใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
2. สืบค้นข้อมูลและบอกความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกับหน้าที่ของหัวใจแต่ละห้องลิ้นหัวใจรวมทั้งหลอดเลือดที่เชื่อมต่อกับหัวใจ
3. สรุปทิศทางการไหลของเลือดผ่านหัวใจ

 

วัสดุอุปกรณ์

1. หัวใจหมู
2. เครื่องมือผ่าตัด
3. ถาดผ่าตัด
4. ถุงมือยาง
5. แท่งแก้วคนสาร
6. หลอดฉีดยา 20 ml
7. บีกเกอร์ 100 ml
8. น้ำ

 

 

วิธีการทำกิจกรรม

ศึกษาหัวใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น หัวใจหมู พร้อมเปรียบเทียบกับรูป  โครงสร้างของหัวใจ โดยให้นักเรียนสวมถุงมือยางและนำหัวใจมาล้างให้สะอาดก่อนดำเนินการดังนี้ช้เทปกาว 2หน้า

1) สังเกตขนาด รูปร่างภายนอกของหัวใจ ลักษณะของเอเตรียม และเวนทริเคิล รวมทั้งหลอดเลือด ที่ต่อกับหัวใจและหลอดเลือดบริเวณผิวรอบนอก ของหัวใจ

2) สังเกตลักษณะภายนอกของหัวใจเพื่อระบุว่าด้านใดเป็นด้านซ้ายหรือด้านขวา โดยใช้มือบีบเวนทริเคิลเพื่อเปรียบเทียบความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจทั้งสองด้า

3) สังเกตความหนาทั้งสองด้านของผนังหลอดเลือดที่ต่อกับหัวใจ แล้วใช้แท่งแก้วปลายด้านทู่หรือนิ้วมือสอดลงไปตามหลอดเลือดที่พบเพื่อตรวจสอบว่าหลอดเลือดต่อกับหัวใจห้องใด หรือใช้หลอดฉีดยาดูดน้ำฉีดเข้าไปบริเวณเอเทรียมขวา สังเกตทิศทางการไหลของน้ำ จากเอเตรียมขวาไปยังหลอดเลือดใด  จากนั้นทำเช่นเดียวกันกับเอเตรียมซ้าย จะได้ทิศทางการไหลของเลือดผ่านห้องหัวใจและหลอดเลือดที่เกี่ยวข้อง

4) สังเกตลักษณะของจำนวนลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่าเอเตรียมและเวนทริเคิล โดยใช้มีดผ่า จากส่วนปลายเวนตริเคิลขึ้นมาทางด้านบนทั้งด้านซ้ายและด้านขวาของหัวใจจนถึงรอยต่อระหว่างเวนตริเคิลกับ    เอเทรียม  รวมทั้งสังเกตความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจ บริเวณเวนตริเคิลซ้ายและเวนทริเคิลขวา

5) สังเกตลักษณะและ จำนวนลิ้นที่กั้นระหว่างหลอดเลือด กับ เวนทริเคิลซ้าย และเวนทริเคิลขวา โดยใช้กรรไกรตัดผนังหลอดเลือดตามความยาวจากนั้นใช้ปากคีบดึงผนังหลอดเลือดให้แยกออกจากกันจนเห็นลิ้นที่อยู่บริเวณโคนหลอดเลือด เปรียบเทียบกับลิ้นที่กั้นระหว่างเอเทรียมกับเวนทริเคิล

6) สังเกตช่องเปิดของหลอดเลือดที่นำเลือดมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจที่อยู่บริเวณโคนหลอดเลือดที่ต่อกับเวนทริเคิล

7) สืบค้นข้อมูลและสรุปผลการศึกษาโครงสร้างของหัวใจและทิศทางการไหลของเลือดผ่านหัวใจ

 

คำถามท้ายกิจกรรม

1. หลอดเลือดบริเวณผิวรอบนอกของหัวใจทำหน้าที่อะไร?........

2. ความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจ 4 ห้องแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร ลักษณะดังกล่าวสัมพันธ์กับการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจอย่างไร.......

3. ลิ้นที่กั้นระหว่างเอเทรียม และเวนทริเคิลมีลักษณะอย่างไร ลักษณะดังกล่าวบอกทิศทางการไหลของเลือดอย่างไร ถ้าลิ้นเหล่านี้ผิดปกติจะมีผลต่อร่างกายอย่างไร...

4. ลิ้นที่โคนเส้นเลือดที่ต่อกับเวนทริเคิลซ้ายและเวนทริเคิลขวามีลักษณอย่างไร ลักษณะดังกล่าวบอกทิศทางการไหลของเลือดอย่างไร และถ้าลิ้นเหล่านี้ผิดปกติจะส่งผลต่อร่างกายอย่างไร...

5. จงเติมคำลงในแต่ละหมายเลข เกี่ยวกับทิศทางการไหลของเลือดผ่านหัวใจ ปอดและเนื้อเยื่อ...

 

ตัวอย่างภาพที่ได้จากการทำกิจกรรม

ภาพ เส้นเลือดบริเวณใกล้หัวใจ

ภาพ ตำแหน่งของลิ้น ไตรคัสปิด และ ลิ้นไบคัสปิด

ภาพ ตำแหน่งของลิ้นเอออร์ติกเซมิลูนาร์ (Aortic semilunar valve)

ภาพ ตำแหน่งของลิ้นพัลโมนารีเซมิลูนาร์ (Pulmonary semilunar valve)

 

 

 


รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา

เอกสารอ้างอิง

หนังสือรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ชีววิทยา เล่ม4 ปรับปรุง พ.ศ. 2560 ตามหลักสูตรแกนกลางปี 2551